รวม 20 สมุนไพรรักษาโรค สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายสุขภาพดี

สมุนไพรส่วนมากที่นิยมนำมาใช้มักจะเป็นส่วนราก ลำต้น ใบ ดอก หรือผลก็ได้ และมักเป็นพืชที่หาได้ไม่ยาก รวมถึงได้มีการศึกษาวิจัยมาแล้วว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์ คนนิยมบริโภค มีคุณค่าทางโภชนาการ มีสรรพคุณทางยา สามารถทำให้ผู้บริโภคมีร่างกายที่แข็งแรง สร้างภูมิคุ้มกันและช่วยรักษาให้ร่างกายสุขภาพดีขึ้นได้ หลายคนจึงใช้ สมุนไพรรักษาโรค ที่เกิดขึ้นกับร่างกายเล็กๆ น้อยๆ


“สมุนไพร” ทางเลือกในการรักษาและป้องกันโรค

สมุนไพร

“ สมุนไพรรักษาโรค ” เป็นทางเลือกในการรักษาและป้องกันโรค ทั้งในรูปแบบของต้นจากธรรมชาติ ยาและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เป็นกระแสนิยมของคนในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดผลต่อสุขภาพหรือการทำงานของร่างกาย หรือลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค นอกจากนี้หากประสงค์ที่จะเลือกใช้สมุนไพรเพื่อประโยชน์ทางด้านการรักษา ต้องอาศัยความรู้และความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สามารถตั้งตำรับยาหรือวิธีการบริหารยาที่ถูกต้องเหมาะสมที่เฉพาะกับบุคคลและอาการของโรคอีกด้วย

เพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจและสามารถใช้ สมุนไพรรักษาโรค ได้ถูกต้องและปลอดภัย นอกจากการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสมุนไพรว่ามีประโยชน์เหมาะสมต่อการนำมาใช้หรือไม่ หรือมีหลักในการเลือกใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างไร เราลองมาดูกัน

    1. ถูกต้น เราอาจจะต้องใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ของพืชแต่ละชนิดที่เป็นทางการเพื่อป้องกันความสับสน เนื่องจากสมุนไพรส่วนใหญ่มีชื่อพ้องหรือซ้ำกัน ชื่อเฉพาะท้องถิ่น บางที่เรียกชื่อแตกต่างกัน หรือบางครั้งชื่อเหมือนกันแต่เป็นคนละชนิด เพราะฉะนั้นก่อนจะใช้สมุนไพรอะไรก็ตรวจสอบค้นหาข้อมูลให้ถูกต้องเสียก่อน
    2. ถูกส่วน ไม่ว่าจะเป็นราก ต้น ดอก ใบ เปลือก ผล หรือความอ่อน สุก ดิบของสมุนไพร อาจมีออกฤทธิ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกันได้ หรือการใช้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ก็อาจส่งผลทำให้ความแรงหรือประสิทธิภาพในการรักษาแตกต่างกัน อย่างพืชบางชนิดบางส่วนใช้เป็นยาได้ แต่บางส่วนก็มีพิษ
    3. ถูกขนาด สมุนไพรหลายชนิดแม้จะไม่อันตราย แต่ถ้าหากบริโภคเกินปริมาณมากไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในเด็ก สตรีมีครรภ์ หรือผู้ใหญ่ หากกินหรือใช้ติดต่อกันนานเกินกว่าคำแนะนำที่กำหนด ก็ควรหยุดเพื่อให้ร่างกายได้พักบ้าง หากมีความจำเป็นที่จะใช้สมุนไพรเป็นเวลานาน ควรมีการตรวจร่างกายและปรึกษาแพทย์ก่อน
    4. ถูกวิธี สมุนไพรบางชนิดต้องใช้ต้นสด คั้นน้ำ หรือต้มกับน้ำ เป็นต้น ซึ่งเราจำเป็นต้องศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อน เพราะสารเคมีที่อยู่ในพืชแต่ละชนิดมีความหลากหลาย หากถูกสกัดออกมาแบบผิดวิธีก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้
    5. ถูกโรค หากจะใช้สมุนไพรเพื่อรักษาโรค เราก็ควรจะรู้ว่าสมุนไพรนั้นออกฤทธิ์ช่วยในเรื่องใด อย่างต้องการบรรเทาอาการท้องผูกก็ต้องใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยระบาย ถ้าใช้สมุนไพรที่มีรสฝาดจะทำให้ท้องยิ่งผูกมากขึ้น ดังนั้นก่อนรับประทานควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัยต่อร่างกายด้วย

นอกจากหลักการดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อแนะนำก่อนเลือกใช้ หรือขณะใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรนั่นคือ

  1. ควรศึกษาว่าผลิตภัณฑ์นั้นประกอบด้วยสมุนไพรชนิดใดหรือมีส่วนประกอบของสมุนไพรใด หากมีอาการไม่พึงประสงค์จะได้ทราบว่าเกิดจากสมุนไพรชนิดใด และรู้จักระมัดระวังในการใช้ครั้งต่อไป
  2. สังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการกินหรือใช้สมุนไพรต่างๆ หากเกิดอาการผิดปกติต้องรีบหยุดใช้ และไปปรึกษาพบแพทย์หรือเภสัชกร
  3. เด็ก สตรีมีครรภ์หรือแม่ที่กำลังให้นมบุตร ไม่ควรใช้สมุนไพรถ้าไม่จำเป็น โดยเฉพาะสมุนไพรที่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัย เนื่องจากสารบางชนิดในสมุนไพรสามารถผ่านรก ขับออกทางน้ำนม หรือส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้

ฉะนั้น เมื่อกล่าวถึง “ สมุนไพรรักษาโรค ” หลายคนอาจจะคิดว่าเราสามารถใช้พืชหรือต้นที่มาจากธรรมชาติได้เลย เพราะทำให้รู้สึกปลอดภัยมากกว่าใช้ยาต่างๆ แต่ความจริงแล้วแม้จะรับประทานแบบไหนเราก็ควรจะศึกษาเสียก่อนว่าสมุนไพรที่เราจะนำมากินสามารถกินได้เลยหรือควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากสมุนไพร มิฉะนั้นแล้วหากนำสมุนไพรมากินมาใช้อย่างไม่ถูกต้องหรือไม่ถูกวิธี ก็อาจจะกลายเป็นเกิดโทษต่อร่างกายของเราเสียเอง


สมุนไพรรักษาโรค เพื่อสุขภาพ 20 ชนิด สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายสุขภาพดี

หลายคนอาจจะยังกล้าๆ กลัวๆ ว่าจะพวก สมุนไพรรักษาโรค ใช้ได้จริงหรือไม่ แต่จริงๆ แล้วในห้องครัวทุกบ้านก็มักจะมีสมุนไพรไว้ประกอบอาหารอยู่บ้างแต่เราอาจจะไม่รู้ อย่างเช่นพวก ขิง ข่า กระเทียม ที่มักนำมาปรุงอาหารแทบจะทุกมื้อเลย เมื่อทานไปแล้วยังเป็นอาหารสมุนไพรไปในตัว ป้องกันรักษาโรคได้หลายโรคอีกด้วย เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านตั้งแต่โบราณจริงๆ 

วันนี้เรามี 20 พืช ผัก ผลไม้ใกล้ตัว ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าเป็นสมุนไพรไทย ที่มีสรรพคุณเป็น สมุนไพรรักษาโรค ว่ามันมีประโยชน์ยังไงมาให้ดูกัน

1. กระเทียม

สมุนไพร

สำหรับการลดความเสี่ยงความดันโลหิตนั้น ควรเลือกใช้กระเทียมสด โดยสูตรนี้ทำได้ง่ายมาก แต่มีข้อระวังคือ ห้ามกินตอนที่กระเพาะไม่มีอาหาร เพราะอาจเกิดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ โดยใช้กระเทียมสด 2 กลีบ สับให้ละเอียดแล้วนำมาทานผสมกับข้าวสวยทุกมื้อ และช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี เสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายและบำรุงหัวใจ อีกทั้งยังช่วยป้องกันรักษาเยื่อบุจมูกอักเสบ

2. ใบบัวบก

สมุนไพร

ให้ใช้ต้นใบบัวบกสดๆ เพราะสามารถช่วยในการลดความดันโลหิตได้ และยังช่วยในการบำรุงหัวใจ เพิ่มความแข็งแรง ไม่อ่อนเพลีย ช่วยฟื้นฟูร่างกายให้หายจากอาการเมื่อยล้าได้ดี โดยเพียงใช้ต้นสดขนาด 40 กรัม ผสมกับ น้ำ 1 แก้วมาตรฐาน คั้นและกรอง ดื่มแต่น้ำ ภายใน 1 สัปดาห์จะรู้สึกเลยว่าอาการดีขึ้น ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้

3. มะระขี้นก

สมุนไพร

สรรพคุณของมะระขี้นกคือ ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด โดยให้ใช้มะระขี้นก 10 ลูก ผ่าเอาเมล็ดออก สับให้ละเอียด จากนั้นใส่น้ำไปเล็กน้อยแล้วกรอง นำมาดื่มเป็นประจำทุกวัน 3 เวลาหลังอาหาร ให้ดื่มติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน จะเห็นได้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถ้าใครที่ดื่มแล้วขมเกินไป ให้นำมะระขี้นกมาลวก แล้วกินกับน้ำพริกแทนก็ได้

4. ตำลึง

สมุนไพร

ตำลึงเป็นสมุนไพรอย่างหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือดได้ โดยให้นำยอดตำลึงสดๆ พอประมาณนำมาลวก แล้วนำมาทานเป็นอาหารทุกวันเป็นประจำ จะช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้

5. กระเจี๊ยบแดง

สมุนไพร

กระเจี๊ยบแดง เป็นผักที่สามารถสลายไขมันในเส้นเลือดได้ แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยในการบำรุงกำลังวังชา ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย โดยให้นำดอกกระเจี๊ยบไปตากแห้ง และนำไปบดให้ละเอียด น้ำมาชงกับน้ำครั้งละ 1 ช้อนชา ดื่มทุกวัน วันละ 3 เวลา จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้

6. เสาวรส

สมุนไพร

เสาวรสสามารถช่วยในเรื่องของการลดไขมันในเส้นเลือดได้ ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ดูมีชีวิตชีวา ช่วยในการสร้างภูมิคุ้นกันให้กับร่างกาย และช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระ ทำได้โดยเลือกผลที่แก่จัด นำไปล้างให้สะอาดแล้วนำมาผ่า ตักเนื้อออก คั้นให้มีแต่น้ำ นำมาดื่มสดๆ หรือจะเติมเครื่องปรุงเล็กน้อยก็ได้

7. เตยหอม

สมุนไพร

เตยหอมเป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยในการป้องกันโรคเบาหวาน สามารถบำรุงหัวใจ ช่วยขับปัสสาวะ และแก้อาการกระหายน้ำได้ โดยนำใบเตยแก่มาหั่นแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง นำมาต้มดื่มเลยได้ ดื่มแทนน้ำยิ่งดี ดื่มติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือน จะช่วยป้องกันโรคเบาหวาน หรือคนที่กำลังเป็น อาการก็จะบรรเทาลง

8. กะเพรา

สมุนไพร

กะเพราก็เป็นพืชผักอีกประเภทหนึ่ง ที่สามารถบรรเทาโรคเบาหวานได้ดี เพราะจะช่วยให้ตับอ่อนสามารถผลิตอินซูลินได้มากขึ้น โดยนำใบกะเพราสดๆ หรือนำไปตากแห้งก่อนก็ได้ นำมาบดให้ละเอียด จากนั้นชงดื่มเหมือนกับเตยหอมก็จะช่วยบรรเทาโรคได้

9. ขมิ้นชัน

สมุนไพร

ขมิ้นชัน เป็น สมุนไพรรักษาโรค ที่ช่วยในการต่อต้านอาการสมองเสื่อม และยังสามารถต้านมะเร็ง ช่วยในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยนำเหง้าแก่มาขูดเปลือกออก ล้างน้ำให้เกลี้ยง จากนั้นนำมาตำให้ละเอียด เติมน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม วันละ 3 ครั้ง หรือจะเลือกแบบแคปซูลก็ได้ ให้ประโยชน์เหมือนกัน

10. พริกไทย

สมุนไพร

ใช้ผงป่นมาปรุงอาหารที่กินเป็นประจำ หรือกินเป็นแคปซูลวันละ 1,000 มิลลิกรัม พร้อมกับอาหารทุกมื้อ แต่ไม่ควรกินขณะท้องว่าง เพราะอาจเกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร นักวิจัยพบว่า สารพิเพอรีนในพริกไทยมีสรรพคุณต้านสมองเสื่อม ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ บำรุงธาตุ ต้านมะเร็ง และที่สำคัญใครที่อยากหุ่นดีการกิอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของพริกไทยก็สามารถช่วยในเรื่องของการเผาผลาญได้ด้วยเช่นกัน

11. มะพร้าว

สมุนไพร

มะพร้าวช่วยในการบำรุงร่างกาย ช่วยแก้อาการสมองเสื่อม แก้พิษ แก้อาการท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ ขับสลายนิ่วได้ด้วย โดยสามารถดื่มได้เลยถ้าขาดน้ำ การดื่มมะพร้าวควรเลือกดื่มแบบที่ผลอ่อนๆ เพราะเราจะได้ทานเนื้อด้วย

12. มะตูม

สมุนไพร

มะตูมมีส่วนช่วยในการบำรุงแร่ธาตุในร่างกาย แก้โรคสมองเสื่อม ช่วยขับลม ช่วยแก้อาการท้องเสีย โดยนำมาฝานเป็นแผ่นๆ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง นำมาคั่วให้หอม แล้วต้มดื่มจะช่วยแก้กระหาย ให้ความสดชื่น เป็นสมุนไพรที่ช่วยคลายความร้อนในร่างกาย ช่วยฟื้นไข้ได้ดี

13. ขิง

สมุนไพร

ขิงเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยแก้อาการเป็นลม หน้ามืด จุกเสียด แน่นท้อง คลื่นเหียน อาเจียน แก้อาการไอ ขับเสมหะ ขับลมในกระเพาะอาหาร และสามารถแก้อาการเป็นบิด ผลขิงมีรสหวานเผ็ด ช่วยแก้อาการเจ็บคอ แก้ไข้ และนำแก่นขิงมาฝนเป็นยาแก้คันได้

14. ข่า

สมุนไพร

ประโยชน์ของข่า ช่วยแก้อาการหืดหอบ เป็นไข้หวัด ไอ เนื่องจากว่าข่ามีรสชาติที่ร้อน จึงเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับคนที่เป็นไข้หวัดในหน้าหนาว หรือจะเอามาฝนผสมกับน้ำผึ้ง หรือน้ำมะนาวและเกลือสักเล็กน้อย แล้วกินเพื่อขับเสมหะ ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี ช่วยขับลม ลดอาการแน่นท้อง จึงเป็นที่นิยมนำมาปรุงอาหาร แถมยังเป็นยาแก้โรคอีกด้วย ข่าจะไปบำรุงธาตุไฟให้กับร่างกาย

15. ว่านหางจระเข้

สมุนไพร

เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักว่านหางจระเข้ เพราะนอกจากว่านหางจระเข้จะช่วยบรรเทาแผลน้ำร้อนลวกแล้ว ยังมีสารที่สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ช่วยในการเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และยังทำให้เซลล์มีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น

16. ฟ้าทลายโจร

สมุนไพร

จัดเป็นสมุนไพรที่มีรสขม อยู่ในกลุ่มยาเย็น มีสรรพคุณทางการแพทย์แผนไทย ใช้บรรเทาอาการไข้หวัด แก้ไอและเจ็บคอ แก้ติดเชื้อ ทำให้หายปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ รวมทั้งยังสามารถรับประทานเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกายในการลดอาการหวัดอื่นๆ ได้ด้วย

17. กระชายดำ

สมุนไพร

กระชายดำหรือโสมไทย มีผลงานวิจัยของนักวิจัยค้นพบว่ากระชายดำมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และฆ่าเชื้อที่เติบโตในช่องปากและทางเดินอาหาร เหง้ากระชายดำนำมาทำเป็นยารักษาอาการต่างๆ ไม่ว่าจะใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับลม แก้บิด แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดท้อง ใช้รักษาอาการของโรคกระเพาะที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา และยังช่วยเพิ่มบำรุงกำลังเสริมสมรรถภาพกล้ามเนื้อ

18. พริก

สมุนไพร

พริกอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ อย่าง วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินซี ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ใยอาหาร เราอาจเคยได้ยินว่ากินอาหารรสชาติเผ็ดบ้างเพื่อไล่หวัด เพราะพริกสามารถช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย และช่วยดีท็อกซ์ร่างกายได้

19. ตะไคร้

สมุนไพร

เรามักจะนำตะไคร้มาประกอบอาหาร แต่ในตะไคร้นั่นมีเกลือแร่จำเป็นหลายชนิด อย่างรากตะไคร้ช่วยบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ ลำต้นตะไคร้นำมาใช้แก้ปวด จากการปวดข้อและฟกช้ำ รวมถึงช่วยให้เจริญอาหาร ส่วนใบตะไคร้มาสกัดกลั่นกลิ่นใช้เป็นน้ำมันหอมระเหยและช่วยลดความดันโลหิตสูงได้

20. สะระแหน่

สมุนไพร

ใบสะระแหน่มีรสร้อนแต่มีฤทธิ์เย็น กินเป็นยาขับลมได้ดี มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร และมีส่วนกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำดีในร่างกาย ช่วยย่อยอาหารได้ดีขึ้น กลิ่นน้ำมันหอมระเหยในใบสะระแหน่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้เป็นวิธีคลายเครียดง่าย ๆ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณระงับปวดได้ ช่วยลดอาการอักเสบในเยื่อบุจมูก บรรเทาอาการคัดจมูกจากหวัด และความเย็นจากใบสะระแหน่ก็ช่วยบรรเทาอาการคันบนผิวหนังได้

ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้เป็น สมุนไพรรักษาโรค จากในครัวที่หาได้ง่ายๆ มีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย สมุนไพรบางอย่างก็เป็นของที่ห้องครัวขาดไม่ได้เพราะต้องนำมาปรุงอาหารตามปกติที่เราทานทุกวันอยู่แล้ว แต่สมุนไพรบางอย่างอาจจะต้องนำไปต้มดื่ม ทานสด คั้นสด หรือทานในรูปแบบอาหารเสริม อย่างเช่น  แบรนด์สารสกัดโสม ก็ได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานสมุนไพรอะไรก็แล้วแต่ก็ควรทานให้พอดีและพอประมาณต่อร่างกาย ที่สำคัญเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอด้วย เพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีแก่ร่างกายให้แข็งแรงและห่างไกลโรค


แหล่งอ้างอิง  

https://www.gj.mahidol.ac.th/main/ttm/herb-right/

https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/1797993